วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สำหรับการศึกษาเริ่มที่บ้านพุพลู (หมู่ 3และ4) ก่อน โดยทางราษฎรได้มาก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวประมาณ พ.. 2500 มีครูมาทำการสอน 1คน ส่วนหมู่ 1 และ 2 เริ่มมีโรงเรียนเมื่อ พ.. 2507 ครูในสมัยนั้นลำบากมาก ไปกลับไม่ได้ ต้องพักอยู่กับชาวบ้าน เผชิญกับไข้มาลาเลียซึ่งชุกชุมมาก แต่ยังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่าไข้มาเลเลียสิ่งนั้นคือการเผชิญกับภัยทางการเมืองเนื่องจากผู้นำลัทธิคอมมิวนิสม์ มาเผยแพร่กับชาวกระเหรี่ยง ครูจึงต้องเผชิญกับภัยสองด้าน ด้านแรกคือฝ่าย ผกคก็ระแวงกลัวครูจะเป็นสายสืบให้กับทางราชการ ส่วนอีกด้านหนึ่งก็กลัวราชการจะเข้าใจว่าครูฝักใฝ่กับพวก ผกคในสมัยนั้นจึงทำให้ครูไปทำการสอนได้ยากมาก
ส่วนทางด้านการศาสนา แม้ในอดีตชาวกระเหรี่ยงจะนับถือผีเป็นส่วนมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มศรัทธาในศาสนาพุทธโดยเริ่มสัมผัสกับพระธุดงค์ โดยเฉพาะหลวงพ่อนวม แห่งวัดแจ้งเจริญ อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี และเริ่มส่งบุตรหลานไปอุปสมบท ทั้งที่วัดแจ้งเจริญ และวัดตามหมู่บ้านใกล้เคียง ประมาณ พ.. 2543 จึงเริ่มมีการสร้างวัดพุพลู เป็นแห่งแรกและประมาณ พ.. 2534สร้างวัดที่หมู่ 1 เป็นแห่งที่สองและหมู่อื่นๆ ได้สร้างตามขึ้นมาเกือบทุกหมู่บ้านพุทธศาสนาเริ่มงอกงามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สำหรับประเพณีกินข้าวห่อกระเหรี่ยงนั้น ชาวกระเหรี่ยง ได้ปฏิบัติติดต่อกันทุกปี เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านจิตใจ ครอบครัวใดได้ทำพิธีนี้ จะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข หากจะเรียกง่ายๆตามประเพณีของไทยก็คือประเพณีรับขวัญนี่เอง ประเพณีกินข้าวห่อกระเหรี่ยง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน ในการทำข้าวห่อและพิธีกรรม กิจกรรมก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก วันแรกจะเป็นวันเก็บใบผาก คล้ายกับต้นไผ่ เพื่อนำมาห่อข้าวเหนียว วันที่ 2 จะเป็นวันห่อข้าวเหนียวพร้อมต้มเพื่อให้ข้าวเหนียวสุก วันที่ 3 จะเป็นวันกินข้าวห่อ โดยช่วงจะถึงวันที่ 3 แต่ละบ้านจะทำพิธีเรียกขวัญ จะใช้ด้ายสีแดง ผูกที่ข้อมือสมาชิกที่อยู่ในบ้านทุกคน จะทำ 2 ช่วงๆแรกจะทำก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เรียกว่าพิธีเรียกขวัญ ช่วงที่ 2 จะทำก่อนพระอาทิตย์ตกดินเรียกว่าผูกขวัญ ในพิธีกรรมจะมียอดข้าวห่อ ก็คือข้าวเหนียวห่อด้วยใบผากต้มจนสุก แต่ที่เรียกยอดข้าวห่อ ก็คือ จะตัดไม้ไผ่แล้วแบ่งเป็นเส้นเล็กๆเพื่อให้สามารถผูกได้ แล้วนำแต่ละเส้นมาผูกห่อข้าวเหนียว ไม้ไผ่แต่ละอันจะแบ่งเป็นเส้นได้จำนวนมาก เมื่อมีจำนวนมาก เมื่อนำมามัดข้าวเหนียวทุกห่อก็จะกลายเป็นพวง เรียกว่ายอดข้าวห่อ  และยังมี อ้อย 9 ชิ้น ห้วย บุหรี่ หมาก นำทุกอย่างมาใส่ตะกร้า จุดเทียน 1 เล่ม เพื่อบอกผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย เมื่อทำพิธีเสร็จช่วงกลางวันจะกินข้าวห่อที่ทำกันไว้ พร้อมทั้งแจกจ่ายให้สมาชิกภายในหมู่บ้านได้รับประทาน ประเพณีกินข้าวห่อกระเหรี่ยงนิยมทำกันในช่วงเดือน 9 ไทย หรือเดือนสิงหาคม ของทุกปี 











                                              ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/phetbanlad/2008/09/07/entry-1
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000118411
และ www.chomthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น